เดินทางย้อนอดีตสู่ยุคอาณานิคมไปตามเส้นทางเที่ยวชมศิลปะย่านซีวิค ดิสทริคท์ และเรียนรู้เกี่ยวกับอนุสาวรีย์และอนุสรณ์สถานที่สำคัญบางแห่งของสิงคโปร์
เพ่งพินิจมรดกทางวัฒนธรรมของสิงคโปร์ผ่านงานศิลปะ
หากคุณสนใจที่จะเรียนรู้ให้มากขึ้นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและผลงานศิลปะของสิงคโปร์ นี่คือคู่มือท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับคุณ
Civic District Art Trail (เส้นทางเที่ยวชมศิลปะย่านซีวิค ดิสทริคท์) จะเจาะลึกถึงอดีตของสิงคโปร์ ผ่านรูปปั้นทางประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียง เช่น รูปปั้นเซอร์ สแตมฟอร์ด ราฟเฟิลส์ ผู้ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์ สู่ผลงานสถาปัตยกรรมที่เป็นสัญลักษณ์ของศตวรรษที่ 21
นอกจากนี้ ยังจะได้ชื่นชมผลงานของประติมากรแถวหน้าของสิงคโปร์ รวมทั้งผลงานสมัยใหม่โดยฝีมือของศิลปินจากทั่วโลก
สถานีรถไฟฟ้า MRT Dhoby Ghaut MRT มุ่งไปที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์
ลงรถไฟฟ้า MRT ที่สถานี Dhoby Ghaut และมุ่งหน้าต่อไปที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์ ระหว่างทางคุณจะพบเห็นโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่ทำมุมตัดกันบนพื้นหญ้าด้านหน้าที่ทำการ YMCA ของสิงคโปร์ ตรงมุมถนน Prinsep Street (พรินเซป สตรีท) ตัดกับ Orchard Road (ถนนออร์ชาร์ด) 1 เอ็นด์เลส โฟลว์ (Endless Flow) (ค.ศ. 1980) เป็นผลงานสถาปัตยกรรมสาธารณะอันดับสองโดยฝีมือของ Tan Teng Kee ศิลปินชาวสิงคโปร์
งานประติมากรรมทองเหลืองสูง 6.4 เมตรนี้ เดิมตั้งอยู่ที่ด้านนอก OCBC Centre บนถนน Chulia Street (จูเลียสตรีท) โดยได้รับการสนับสนุนจาก OCBC Bank หลังจากที่ธนาคารได้อุทิศผลงานนี้ให้แก่หน่วยงานสวนสาธารณะและสันทนาการ (Parks and Recreation Department) ของสิงคโปร์ในปี ค.ศ. 1983 ผลงานชิ้นนี้ก็ถูกย้ายไปตั้งที่ Bras Basah Park (สวนสาธารณะบราส บาซาห์) และต่อมาถูกย้ายมาตั้งที่ตำแหน่งปัจจุบัน
เมื่อมาถึง National Museum of Singapore (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์) คุณจะสังเกตเห็น 2 ประติมากรรมชุด 20 Tonnes (ค.ศ. 2002) แผ่นแกรนิตเนื้อหยาบที่หนาหนักจำนวนหกชิ้นนี้ตั้งเรียงเป็นแถว อันเป็นผลงานของ Han Sai Por ประติมากรชาวสิงคโปร์ ผลงานศิลปะอีกชิ้นของ Han คือ 3 ซีดส์ (Seeds) (ค.ศ. 2006) รูปปั้นที่ดูคล้ายเมล็ดสีน้ำตาลขนาดยักษ์ที่แกะสลักจากหินทรายซึ่งเคลื่อนย้ายมาจาก Fort Canning Park (สวนสาธารณะฟอร์ทแคนนิ่ง) ในช่วงเวลาที่มีการสร้างพิพิธภัณฑ์นี้ขึ้น
มองไปทางซ้าย จะเห็น 4 Living World (ค.ศ. 1987) รูปปั้นสัมฤทธิ์หลากสีสันโดยฝีมือของ Ju Ming ประติมากรชาวไต้หวัน ที่สร้างขึ้นในงานฉลองครบรอบร้อยปีของ Singapore National Museum ในอดีต อีกด้านหนึ่งเป็นผลงานประติมากรรมทำจากเหล็กกล้า 5 Transformation (ค.ศ. 2004) ซึ่งประกอบด้วยแท่งเหล็กยาวแหลมที่บิดเป็นเกลียว โดยฝีมือการสร้างสรรค์ของ Tan Teng Kee ประติมากรชื่อดัง
ห่างออกไปเพียงเล็กน้อยทางด้านหน้า National Museum คือ 6 Let There Be Peace (ค.ศ. 2005) หรือ United Nations Peace Monument for Asia ที่ทำจากสัมฤทธิ์สูง 3 เมตร ผลงานของ Alexandra Nechita จากโรมาเนีย เดินไปยังทางเข้าด้านหลังของพิพิธภัณฑ์ ที่นี่คุณจะเห็น 7 ภัตตาคารเปดาส เปดาส (Pedas Pedas) (ค.ศ. 2006) โดย Kumari Nahappan ศิลปินชาวสิงคโปร์ ชื่อผลงานนี้แปลว่า “เผ็ดร้อน” ในภาษามาเลย์ และรูปปั้นพริกเม็ดใหญ่นี้เป็นสัญลักษณ์ของการหลอมรวมทางวัฒนธรรมที่หลากหลายในสิงคโปร์
สวนประติมากรรมอาเซียน (ASEAN Sculpture Garden)
ข้ามฝั่งจาก National Museum of Singapore ที่บริเวณ Fort Canning Link คุณก็จะมาถึง Fort Canning Park (สวนสาธารณะฟอร์ทแคนนิ่ง) เมื่อเดินผ่านที่จอดรถ ก็จะมาถึงสวนประติมากรรมอาเซียน (ASEAN Sculpture Garden)
ผลงานศิลปะที่จัดวางอยู่กลางแจ้งในสวนอันเงียบสงบแห่งนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1981 สำหรับงาน ASEAN Sculptures Symposium ที่จัดขึ้นที่สิงคโปร์ แต่ละประเทศสมาชิกจากทั้งหมด 5 ประเทศของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) อันประกอบด้วยฟิลิปปินส์ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์) ได้ร่วมบริจาคเงินเพื่อสร้างผลงานประติมากรรมไว้ในสวนแห่งนี้ภายในบริเวณสวนสาธารณะ ในปี 1988 บรูไนได้มอบผลงานของตนเมื่อได้เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียน
ผลงาน 8 ออกูรี (Augury) สีแดงเข้ม (ค.ศ. 1988) โดย Anthony Lau ชาวมาเลเซีย ถูกนำมาวางแทนที่งานประติมากรรม Taming Sari เดิมที่ทำจากไฟเบอร์กลาส ฝีมือของ Ariffin Mohammed Ismail ที่สึกกร่อนเนื่องจากสภาพภูมิอากาศ
Ng Eng Teng ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งงานประติมากรรมของสิงคโปร์ ได้สร้างผลงาน 9 Balance สไตล์มินิ
มอลลิสท์ (ค.ศ. 1982) ขึ้นโดยได้รับการว่าจ้างจากคณะกรรมการวัฒนธรรมและสารสนเทศ (Committee on Culture and Information)
10 Concentration (ค.ศ. 1982) โดยฝีมือของวิชัย สิทธิรัตน์ จากประเทศไทย ทำขึ้นจากแผ่นเหล็กกล้า ขณะที่ 11 ยูนิตี้ (Unity) (1982) โดย But Muchtar ประติมากรชาวอินโดนีเซีย ทำขึ้นจากเหล็กและทองแดง
ผลงาน 12 Together (ค.ศ. 1988) ที่ทำจากเหล็กกล้าพิเศษและมีลักษณะคล้ายเสาธงนี้สร้างสรรค์โดย Osman Bin Mohammad ชาวบรูไน และเป็นสัญลักษณ์ของสมาชิกทั้งหกประเทศของอาเซียนในเวลานั้น
อันดับสุดท้าย 13 Fredesvinda (ค.ศ. 1982) สูง 5 เมตร ที่ทำจากเหล็กกล้าและคอนกรีต โดยฝีมือของ Napoleon Veloso Abueva จากฟิลิปปินส์ ดูคล้ายโครงเรือที่ยังต่อไม่เสร็จ ชื่อนี้มีความหมายว่า “พลังของประเทศ” ในภาษาเยอรมัน
สถานีรถไฟฟ้า MRT City Hall ไปที่ดิ อาร์ต เฮาส์
นั่งรถไฟจากสถานีรถไฟฟ้า MRT Dhoby Ghaut เพื่อไปลงที่สถานี City Hall พื้นที่นี้เป็นใจกลางย่าน Civic District (ซีวิค ดิสทริคท์) ของสิงคโปร์ ซึ่งมีอาคารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญหลายแห่ง
เดินไปยังอาคารที่เคยเป็นที่ทำการของ Old Supreme Court (ศาลฎีกาเก่า) ที่ยิ่งใหญ่อลังการบนถนน St Andrew’s ปัจจุบัน อาคารหลังนี้เป็นส่วนหนึ่งของNational Gallery Singapore (หอศิลป์แห่งชาติสิงคโปร์) คุณยังสามารถชมผลงาน 14 ประติมากรรมชุดสัญลักษณ์แห่งความยุติธรรม (Allegory of Justice) (ค.ศ. 1937) ได้เมื่อมองไปยังดาดฟ้าอาคาร รูปปั้นที่สื่อถึงความยุติธรรม ความเมตตา กฎหมาย ความกตัญญู และความรุ่งเรือง ซึ่งเป็นเครื่องแสดงถึงระบบที่ยึดถือกฎหมายและระเบียบข้อบังคับนี้ เป็นผลงานที่สร้างสรรค์โดย Cavalieri Rudolfo Nolli ประติมากรชาวอิตาลีที่เคยสร้างพระที่นั่งถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในปี ค.ศ. 1913
ข้ามถนนไปที่ Victoria Theatre ที่นี่คุณจะได้เห็นรูปปั้นที่คล้ายกับ 15 รูปปั้นเซอร์สแตมฟอร์ด ราฟเฟิลส์ (Sir Stamford Raffles) ชายผู้เริ่มต้นทุกสิ่งทุกอย่างในฐานะผู้ก่อตั้งสิงคโปร์สมัยใหม่ นี่เป็นรูปปั้นดั้งเดิมที่ทำจากสัมฤทธิ์เข้ม โดยฝีมือของ Thomas Woolner ในปี ค.ศ. 1887 และใช้ชื่อเล่นว่า โอรัง เบซี ที่แปลว่า “คนเหล็ก” ในภาษามาเลย์ รูปปั้นนี้สร้างขึ้นครั้งแรกในวันพระราชพิธีกาญจนาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1887 ที่ Padang (ปาดัง) แต่ต่อมาถูกเคลื่อนย้ายมายังตำแหน่งที่ตั้งปัจจุบันในช่วงงานเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีของการค้นพบสิงคโปร์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919
เดินไปไม่ไกลนักจากดิ อาร์ต เฮาส์ สถานที่ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นอาคารรัฐสภาเก่า จะได้พบกับรูปปั้น 16 Elephant Statue ที่ทำจากทองสำริด ซึ่งเป็นของขวัญที่พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นการแสดงถึงการเสด็จเยือนสิงคโปร์ในปี 1871 มีข้อความจารึกไว้บนแท่นสูงของอนุสาวรีย์เป็นภาษาไทย ยาวี จีน และอังกฤษ ที่มีเนื้อความว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ เจ้าแผ่นดินแห่งสยาม ได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นเมืองสิงคโปร์ เป็นแผ่นดินต่างประเทศที่พระมหากษัตริย์แห่งสยามได้เสด็จประพาสเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1871”