เปอรานากัน
ชาวเปอรานากันในสิงคโปร์นับเป็นเสน่ห์ของการผสมผสานวัฒนธรรมต่าง ๆในภูมิภาคนี้ได้อย่างลงตัว
คอลเลคชั่นของ Lee Hin Ming ด้วยความเอื้อเฟื้อจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติสิงคโปร์
ชาวเปอรานากัน* คือตัวอย่างของการผสมผสานทางวัฒนธรรมอันมีเสน่ห์ของภูมิภาคนี้ ชาวจีนเปอรานากัน หรือชาวจีนช่องแคบ (Straits Chinese) ในสิงคโปร์สืบเชื้อสายมาจากผู้ที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณแถบมะละกาในศตวรรษที่ 15 โดยบรรพบุรุษของพวกเขาเป็นพ่อค้าชาวจีนที่แต่งงานกับหญิงสาวชาวมาเลย์ท้องถิ่น
นอกจากนี้ ยังมี Chitty Melaka หรือชาวอินเดียเปอรานากัน ที่เป็นลูกหลานของพ่อค้าฮินดูชาวอินเดียใต้ที่แต่งงานกับหญิงสาวท้องถิ่น และหญิงสาวชาวยาวี เปอรานากัน ซึ่งเป็นลูกหลานของพ่อค้ามุสลิมจากอินเดียใต้กับหญิงสาวในชุมชนท้องถิ่น
ชาวเปอรานากันยุคเริ่มต้นส่วนใหญ่มักเป็นพ่อค้าแม่ขาย ในขณะที่บางคนก็ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ชิปปิ้ง และการธนาคาร
แม้ว่าชาวจีนช่องแคบส่วนใหญ่ได้ปรับตัวเข้ากับชุมชนชาวจีนกลุ่มใหญ่แล้ว แต่พวกเขาก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องอาหารและเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย
อาหารเปอรานากันได้รับอิทธิพลจากอาหารมาเลย์ที่เผ็ดร้อน และเป็นสิ่งที่ผู้คนทั่วไปสัมผัสได้ง่ายที่สุดสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์นี้ Nonya food (อาหารยอนย่า) ซึ่งตั้งชื่อตามบรรดาสตรีที่ปรุงอาหารชนิดนี้ สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของอินโดนีเซียและมาเลย์ที่แข็งแกร่ง ดังจะเห็นได้จากการใช้เครื่องเทศและกะทิในอาหาร
*คำในภาษาอินโดนีเซีย/มาเลย์ที่แปลว่า "เกิดในท้องถิ่น" โดยทั่วไปแล้ว หมายถึงชาวจีนเชื้อสายมลายู/อินโดนีเซีย
ชุดพื้นเมืองของชาวเปอรานากันหรือที่เรียกว่า ชุดเกบาย่า (Nonya Kebaya) แสดงให้เห็นถึงรายละเอียดของลายปักที่สวยงาม
ถ่ายภาพโดย Jaclyn Tan
ในงานสำคัญ ๆ ที่เป็นทางการ สตรีชาวเปอรานากันมักจะสวมใส่ชุดพื้นเมือง เช่น ชุดเกบาย่า ที่ได้รับอิทธิพลจากชุดเกบาย่าที่สวมคู่กับโสร่งของมาเลย์ เสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสสวยงามมักปักประดับด้วยลวดลายที่ละเอียดประณีต เช่น ลายกุหลาบ ดอกกล้วยไม้ หรือผีเสื้อ