การแข่งเรือมังกรและบ๊ะจ่างเป็นองค์ประกอบหลักสองอย่างของเทศกาลแข่งเรือมังกร

สิงคโปร์สมัยใหม่ยังเต็มไปด้วยสีสันของวัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่ อาทิ เทศกาลแข่งเรือมังกร ซึ่งเป็นงานประเพณีเก่าแก่ของจีนที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ยุคที่จีนยังแบ่งออกเป็นก๊กต่างๆ และมีการรบพุ่งกัน

การแข่งเรือมังกรและบ๊ะจ่าง สองสิ่งที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงแต่เป็นส่วนประกอบสำคัญของงานเทศกาลนี้ โดยมีรากฐานที่มาจากเรื่องราวทางการเมืองและความรักชาติ

สัตว์ในตำนาน

มีตำนานเล่าขานกันมาเป็นเวลานานแล้ว เกี่ยวกับการเฉลิมฉลองนี้ ซึ่งเป็นการบอกเล่าเรื่องราวของซีหยวน (Qu Yuan) ขุนนางตงฉินในยุคที่ประเทศจีนยังมีการรบแบ่งก๊กแบ่งเหล่ากันอยู่ ครั้งหนึ่งขุนนางผู้นี้เคยเป็นถึงที่ปรึกษาองค์พระจักรพรรดิ แต่ต่อมาถูกขุนนางฝ่ายตรงข้ามใส่ร้ายจึงเป็นเหตุให้ต้องถูกเนรเทศ และเมื่อรู้สึกสิ้นหวัง จึงตัดสินใจกระโดดน้ำตายและจบชีวิตลงในแม่น้ำ

เนื่องจากขุนนางผู้นี้เป็นที่รักใคร่ของผู้คนทั่วไป ชาวประมงก็เริ่มเอาไม้พายตีน้ำโดยได้แต่หวังว่าจะสามารถหยุดยั้งไม่ให้ปลากินคนที่อยู่ในแม่น้ำนั้นกลืนกินร่างของเขาไปเสีย ส่วนคนอื่น ๆ ก็โยนข้าวสุกที่ห่อด้วยใบไม้ลงไปในน้ำ โดยหวังว่าปลาจะกินข้าวแทนการกัดกินร่างของขุนนางผู้นี้

เรื่องราวต่างๆ ที่เล่ามาสอดรับกันพอดีกับประเพณีที่ชาวประมง คนจีนใช้เรือที่มีรูปทรงคล้ายมังกรในการทำพิธีบวงสรวง “มังกร” แห่งสายน้ำ ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นกีฬาในสมัยราชวงศ์ฮั่น

ย่ำกลองร้องเอาชัย

ทุกวันนี้ รูปแบบการแข่งขันในสมัยโบราณหลายๆ อย่างยังคงอยู่ เริ่มตั้งแต่ตัวเรือที่ยาวและแคบ หัวเรือที่ตกแต่งด้วยการวาดรูปหัวมังกร ไปจนถึงกลองที่ให้จังหวะแก่ฝีพาย

ในสิงคโปร์ บรรยากาศสนุกสนานสุดเหวี่ยงจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เข้าแข่งขันจ้วงไม้พายอย่างเร่งร้อนสุดกำลัง นายท้ายเรือเร่งย่ำกลองให้จังหวะ ธงโบกสะบัด และผู้ชมส่งเสียงเชียร์ทีมโปรดของตน

นับเป็นการแข่งขันที่เปี่ยมไปด้วยพลัง ประวัติอันแสนเศร้า และความเป็นมิตรที่น่าตื่นเต้นเร้าใจ ทั้งหมดนี้ผสานเข้าด้วยกันเป็นการแสดงที่น่าตื่นเต้นและตื่นตาตื่นใจ

สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์

จบด้วยบ๊ะจ่าง!

ของกินที่ทำจากข้าวเหนียว (หรือ “จ่าง” ในภาษาจีน) ซึ่งเป็นสิ่งที่ชื่นชอบกันของเทศกาลนี้ มีรูปทรงเป็นสามเหลี่ยม ห่อด้วยใบจ่าง และใส่ไส้ต่าง ๆ “บ๊ะจ่าง” แบบที่นิยมกันมากที่สุดคือแบบที่ใส่หมู แห้ว และเห็ด ในขณะที่สูตรของบ้าบ๋า-ย่าหยา (เปอรานากัน*) จะใส่หมูตุ๋น ผงเครื่องเทศห้าชนิด และฟักเชื่อม ส่วน “กีจ่าง” นั้นไม่มีไส้และรับประทานเป็นของหวาน โดยจิ้มกับน้ำตาล หรือ “กัวลามะละกา” (“น้ำตาลมะพร้าว” ในภาษามาเลย์)

*คำในภาษาอินโดนีเซีย/มาเลย์ที่แปลว่า "เกิดในท้องถิ่น" โดยทั่วไปแล้ว หมายถึงชาวจีนเชื้อสายมลายู/อินโดนีเซีย

สิ่งอื่นๆ

ที่น่าลอง